เคาะแล้วเยียวยานายจ้างเร่งฟื้นฟูสภาพธุรกิจ SMEs จากผลกระทบโควิด 19 ปี 2567/2024

คงไม่อาจกล่าวได้ว่าการระบาดของโรคโควิด 19 ที่กินผลกระทบเป็นวงกว้างสร้างความเสียหายเป็นเวลานาน ทำให้ภาคธุรกิจ SMEs ต่างได้รับผลกระทบอย่างหนัก บ้างต้องปิดกิจการลง บ้างก็ต้องลดจำนวนพนักงานที่มีอยู่เพื่อประคับประคองให้ธุรกิจยังคงทรงตัวต่อไปได้ ล่าสุดเมื่อ 5 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการเร่งฟื้นฟูภาคธุรกิจประเภท SMEs เน้นฟื้นฟูและเยียวยานายจ้างนาน 3 เดือน มอบเงินเยียวยาจำนวน 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 ราย ทั้งนี้โครงการเยียวยาดังกล่าวจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการหรือนายจ้างให้ยังคงสภาพอัตราการจ้างงานตลอดจนเสริมสร้างความแข็งแรงให้ธุรกิจกลับมาให้บริการได้ตามเดิม ซึ่งผู้ประกอบการที่สนใจสมัครลงทะเบียนขอรับเงินเยียวยานายจ้างหรือต้องการเช็คเงินเยียวยานายจ้างสามารถตรวจสอบสิทธิเยียวยานายจ้างได้ที่เว็บไซต์ประกันสังคมผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก 

ตรวจสอบคุณสมบัติเงื่อนไขโครงการเยียวยานายจ้างใครได้รับบ้าง ?

การรับสิทธิ์เยียวยานายจ้างได้นั้น ผู้ประกอบการหรือนายจ้างจะต้องมีคุณสมบัติที่ตรงตามเงื่อนไขกำหนด มิเช่นนั้นจะไม่สามารถขอรับสิทธิ์ลงทะเบียนเยียวยานายจ้างได้ ทั้งนี้นายจ้างจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. เป็นนายจ้างในกลุ่มภาคธุรกิจประเภท SMEs ในภาคเอกชน และต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมอย่างถูกต้อง
  2. ลูกจ้างที่ประกอบอาชีพอยู่จะต้องเป็นลูกจ้างสัญชาติไทย โดยมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 200 คน
  3. เปิดให้สามารถเข้าร่วมลงทะเบียนเยียวยานายจ้าง 3 เดือนได้ในเดือนตุลาคม 2567 เท่านั้น
  4. เริ่มรับเงินเยียวยานายจ้างจำนวน 3 เดือนโดยเริ่มในเดือนที่ 1 ก็คือ เดือนพฤศจิกายน 2567 ถึงเดือนที่ 3 ซึ่งก็คือเดือนมกราคม 2567 

ทั้งนี้สำหรับสิทธิ์การเยียวยานายจ้าง ณ ปัจจุบันยังคงเหลืออยู่โดยประมาณ 400,000 สิทธิ์ และคาดว่าภายในเดือนตุลาคม 2567 นี้จะมีจำนวนนายจ้างลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก เพื่อให้สอดคล้องต่อนโยบายการเปิดประเทศที่กำลังตามมา และกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาคึกคักต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ

ข้อดีโครงการเยียวยานายจ้างมีอะไรบ้าง

  1. ผู้ประกอบการภาคธุรกิจก SMEs ที่เข้าร่วมเยียวยานายจ้าง สามารถเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน และมีส่วนให้นายจ้างยังสามารถคงสภาพการจ้างงานพนักงานได้เหมือนเดิม
  2. เพิ่มความแข็งแรงให้กับภาคธุรกิจ และยังประคับประคองให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
  3. ลดอัตราการเลิกจ้างงานลงเพราะโครงการเยียวยานายจ้างจะสามารถผ่อนภาระให้กับนายจ้างที่ต้องแบกรับทั้งหมดลงได้บางส่วน
  4. นายจ้างจะต้องรักษาสภาพการจ้างงานไม่ให้ต่ำกว่า 95% ในขณะที่ได้มีการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ เพื่อรับเงินอุดหนุนเยียวยานายจ้าง อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดอัตราการว่างงานของลูกจ้าง
  5. เป็นการรองรับการเปิดประเทศที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือน พฤศจิกายน เพื่อกระตุ้นให้ประเทศไทยเกิดสภาพคล่องทางเศรฐกิจอันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน